วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่ 4 ขั้นตอนการทำศิลปะภาพพิมพ์

บทที่ 4 ขั้นตอนการทำศิลปะภาพพิมพ์
แบ่งประเภทการพิมพ์ได้ 4 ประเภท ดั้งนี้
1. แม่พิมพ์ผิวนูน ( Relief Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น

2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio Process)



เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่องลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Etching, Aquatint, Dry point, Messotint เป็นต้น

3. แม่พิมพ์ผิวราบ ( Planographic Process )



เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการ
4. แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ( Serigraphy) Silk-screen

เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่พัฒนามาจากวิธีการ Stencil ซึ่งเป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูปที่ต้องการ สำหรับ Silk-screen แม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็นช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการพิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ 
ขั้นตอนการทำภาพพิมพ์ woodcut

1.ก่อนอื่นต้องคิดก่อนว่าจะทำออกแบบแบบไหน และสื่อ ออกมาอย่างที่คิดหรือไม่
2.เมื่อคิดได้แล้วก็ลงมือร่างภาพตามที่เราคิดเอาไว้ก่อนในสมุด

3.เมื่อได้แล้วก็นำไปร่างลงแผ่นไม้ที่ได้เตรียมเอาไว้


4.จากนั้นก็ลงมือแกะไม้ด้วยเครื่องมือแกะไม้ เครื่องมีนี้ผมเก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยเรียน

5.เมื่อแกะเรียบร้อยแล้วก็ใช้ลูกกลิ้งตีสีให้แตก ในทีนี้ผมใช้สีดำสีเดียว เมื่อสีแตกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วก็กลิ้งลงไปบนแม่พิมพ์ไม้ที่เราแกะเสร็จแล้ว

6.เมื่อกลิ้งสีทั่วแล้วก็มาถึงการขูดสีลงบนกระดาษที่เราได้เตรียมเอาไว้แล้วขั้นตอนตามภาพ

ทำการคว่ำกระดาษโดยให้กระดาษอยู่บน และให้ใต้กระดานอยู่ด้านล่าง

ต่อจากนั้นก็ขูดและก็ขูดให้ทั่ว ๆ

เมื่อขูดสีเสร็จแล้วก็นำกระดาษออกแล้วดูว่าผลงานมีสีติดทั่วไหมเป็นอันเรียบร้อย













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น