วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่6ประโยชน์ของการทำงานภาพพิมพ์

บทที่6ประโยชน์ของการทำงานภาพพิมพ์


ประโยชน์ของการพิมพ์ภาพ
1. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
2. พัฒนาการสังเกต
3. รู้จักกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน
4. สามารถสร้างงานได้ตามความคิดจินตนาการ
5. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และวิชาอื่น
6. สนุกสนาน เพลิดเพลิน
การนำผลงานภาพพิมพ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและวิชาอื่น
     กระบวนการสร้างภาพพิมพ์ โดยส่วนใหญ่ สามารถสรางงานที่เหมือนกันได้ครั้งละหลาย ๆ ชิ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการนำไปใช้ และยังสามารถใช้เทคนิคในการสร้างงานภาพพิมพ์ร่วมกันหลาย ๆ เทคนิคในภาพเดียว เพื่อความหลากหลาย และความน่าสนใจของผลงาน

บทที่ 5 ตัวอย่างงานภาพพิมพ์ที่สำเร็จ

บทที่ 5 ตัวอย่างงานภาพพิมพ์ที่สำเร็จ

ภาพที่1















ภาพที่2













ภาพที่3


















ภาพที่4


















ภาพที่5














ภาพที่6

















ภาพที่7









   





ภาพที่8













ภาพที่9













                            เสร็จสิ้นภาพตัวอย่างที่สำเร็จ

บทที่ 4 ขั้นตอนการทำศิลปะภาพพิมพ์

บทที่ 4 ขั้นตอนการทำศิลปะภาพพิมพ์
แบ่งประเภทการพิมพ์ได้ 4 ประเภท ดั้งนี้
1. แม่พิมพ์ผิวนูน ( Relief Process)


เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์โดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น

2. แม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglio Process)



เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ใช้หลักการตรงกันข้ามกับ Relief Process คือแม่พิมพ์มี ความนูนและร่องลึกเช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่สร้างให้เกิดเป็นรูป คือส่วนที่เป็นร่องลึกของแม่พิมพ์ ในการพิมพ์ต้องอุดหมึกลงไปในร่องลึก และเช็ดผิวบนให้สะอาด แล้วจึงเอากระดาษปิดทับบนแม่พิมพ์ การพิมพ์ต้องอาศัยแท่นพิมพ์ที่มีแรงกดสูงเพื่อเอากระดาษให้ไปดูดซับหมึกขึ้นมาได้ เทคนิคที่รวมกันอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Etching, Aquatint, Dry point, Messotint เป็นต้น

3. แม่พิมพ์ผิวราบ ( Planographic Process )



เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์มีผิวเรียบแบน แต่หลักของการพิมพ์อาศัยกฏเกณฑ์แห่ง ความไม่เข้ากันระหว่าง น้ำกับน้ำมัน แม่พิมพ์จะเป็นหินที่มีเนื้อละเอียดมาก และมีผิวแบนเรียบ รูปที่ต้อง การจะเกิดจากการขีด เขียนหรือวาดระบายด้วยไข ในการพิมพ์ก่อนที่จะกลิ้งหมึกพิมพ์จะต้องใช้น้ำหล่อ เลี้ยงผิวของแม่พิมพ์ให้ชุ่มชื้น เมื่อกลิ้งหมึกพิมพ์ซึ่งเป็นไขผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ที่เป็นไขจะติด บนรูปที่วาดด้วยไขเท่านั้น หมึกพิมพ์จะไม่ติดบนผิวหินส่วนที่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ แล้วจึงนำเอากระดาษ มาปิดทับบนแม่พิมพ์รีดกดให้หมึกติดกระดาษ เกิดเป็นรูปภาพที่ต้องการ
4. แม่พิมพ์ตะแกรงไหม ( Serigraphy) Silk-screen

เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ ที่พัฒนามาจากวิธีการ Stencil ซึ่งเป็นวิธีสร้างรูปซ้ำๆ เหมือนๆ กันได้หลายรูป โดยการเจาะกระดาษ หรือวัสดุอื่นให้เป็นรูปแล้วพ่น หรืออาบสีให้ผ่านช่องว่างลงไปติดเป็นรูปที่ต้องการ สำหรับ Silk-screen แม่พิมพ์จะเป็นตะแกรงที่ละเอียดมาก ตะแกรงนี้จะช่วยยึดทั้งส่วนที่เป็นช่องว่างและส่วนที่ทึบตันให้ติดเป็นแผ่นระนาบเดียวกัน วิธีการนี้ช่วยให้การสร้างแม่พิมพ์มีความละเอียด ประณีต และเมื่อพิมพ์ออกมารูปจะมีความคมชัดกว่า รวมทั้งพิมพ์ซ้ำๆได้ปริมาณมากกว่า ในการพิมพ์จะใช้ยางที่มีหน้าตัดเรียบคม ปาดหมึกผ่านช่องว่างให้ลงไปติดบนแผ่นกระดาษ 
ขั้นตอนการทำภาพพิมพ์ woodcut

1.ก่อนอื่นต้องคิดก่อนว่าจะทำออกแบบแบบไหน และสื่อ ออกมาอย่างที่คิดหรือไม่
2.เมื่อคิดได้แล้วก็ลงมือร่างภาพตามที่เราคิดเอาไว้ก่อนในสมุด

3.เมื่อได้แล้วก็นำไปร่างลงแผ่นไม้ที่ได้เตรียมเอาไว้


4.จากนั้นก็ลงมือแกะไม้ด้วยเครื่องมือแกะไม้ เครื่องมีนี้ผมเก็บเอาไว้ตั้งแต่สมัยเรียน

5.เมื่อแกะเรียบร้อยแล้วก็ใช้ลูกกลิ้งตีสีให้แตก ในทีนี้ผมใช้สีดำสีเดียว เมื่อสีแตกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วก็กลิ้งลงไปบนแม่พิมพ์ไม้ที่เราแกะเสร็จแล้ว

6.เมื่อกลิ้งสีทั่วแล้วก็มาถึงการขูดสีลงบนกระดาษที่เราได้เตรียมเอาไว้แล้วขั้นตอนตามภาพ

ทำการคว่ำกระดาษโดยให้กระดาษอยู่บน และให้ใต้กระดานอยู่ด้านล่าง

ต่อจากนั้นก็ขูดและก็ขูดให้ทั่ว ๆ

เมื่อขูดสีเสร็จแล้วก็นำกระดาษออกแล้วดูว่าผลงานมีสีติดทั่วไหมเป็นอันเรียบร้อย













บทที่ 3อุปกรณ์การทำภาพพิมพ์

บทที่3อุปกรณ์การทำภาพพิมพ์

อุปกรณ์ภาพพิมพ์เทคนิกwoodcut

กระดานไม้สำหรับเเกะwoodcut









ค้อน











เเปลงฝัดขี้ไม้หรือปัดฝุ่น









ชุดเเกะสลักไม้















หมึกพิมพ์หลากสีสัน
















ลูกกลิ้งยาง













กระดาษ












                    อุปกรณ์ภาพพิมพ์สีนํ้า

ใบไม้หรือวัสดุจากธรรมชาติ     วัสดุสังเคราะห์ อื่นๆ








 กระดานไม้
สีนํ้า
จานสี












พู่กันขนาดไหนก็ได้

บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นของานภาพพิมพ์

บทที่2ความรู้เบื้องต้นของานภาพพิมพ์
การพิมพ์ภาพ  หมายถึง   การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะเหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ
   และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่  2  ชิ้นขึ้นไป การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ
   ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถสร้างผลงาน  2   ชิ้น    ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้    จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา
   ชาติจีน   ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี   จากนั้นจึงได้แพร่หลายออกไป
   ในภูมิภาคต่างๆของโลก  ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพขึ้นมาอย่างมากมาย  มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆ
   เข้ามาใช้ในการพิมพ์  ทำให้การพิมพ์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
      การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
   1.  แม่พิมพ์  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
   2.  วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
   3.  สีที่ใช้ในการพิมพ์
   4.  ผู้พิมพ์
      ผลงานที่ได้จากการพิมพ์  มี  2  ชนิด คือ
   1. ภาพพิมพ์   เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ  เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆอาจมีข้อความ
      ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
   2. สิ่งพิมพ์  เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร  ข้อความ ตัวเลข  อาจมีภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้
     ประเภทของการพิมพ์   การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง  ดังนี้
   1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์  ได้  2  ประเภท  คือ
        1.1  ศิลปภาพพิมพ์   (  GRAPHIC   ART  )  เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็นงานวิจิตรศิลป์
        1.2  ออกแบบภาพพิมพ์   ( GRAPHIC  DESIGN  ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก
             เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ   บัตรต่างๆ  ภาพโฆษณา  ปฏิทิน  ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์
   2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์  ได้  2  ประเภท  คือ
        2.1  ภาพพิมพ์ต้นแบบ  ( ORIGINAL   PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค
             และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน  และเจ้าของผลงานจะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น  บอกลำดับที่ในการพิมพ์
              เทคนิคการพิมพ์   และ วัน เดือน   ปี  ที่พิมพ์ด้วย
        2.2  ภาพพิมพ์จำลองแบบ   (  REPRODUCTIVE   PRINT  ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น
             ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม  บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
   3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์  ได้  2  ประเภท  คือ
        3.1  ภาพพิมพ์ถาวร  เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ  ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
             ตั้งแต่  2  ชิ้นขึ้นไป
        3.2  ภาพพิมพ์ครั้งเดียว  เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว  ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
   4.  แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์  ได้  4  ประเภท  คือ 
       4.1  แม่พิมพ์นูน  ( RELIEF   PROCESS  )เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์
           ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น     แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก   ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่
           ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT )ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT )  ตรายาง ( RUBBER  STAMP )            ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
       4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก( INTAGLIO  PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะ
           ทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง )และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า  ETCHING
           แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดยชาวตะวันตก  สามารถพิมพ์งานที่มีความ  ละเอียด  คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์
          หนังสือพระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะและธนบัตร
       4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ  ( PLANER   PROCESS  )    เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ราบเรียบของแม่พิมพ
          โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย  ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่   ภาพพิมพ์หิน  ( LITHOGRAPH           การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET )  ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT )  ภาพพิมพ์ครั้งเดียว  ( MONOPRINT )
      4.4  แม่พิมพ์ฉลุ  ( STENCIL  PROCESS  ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไปสู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง
          เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์  ไม่กลับซ้าย เป็นขวา  ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่
          ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL )  ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK  SCREEN )  การพิมพ์อัดสำเนา  ( RONEO )  เป็นต้น  
(ผลงานของศิลปินประเทศไทยอาจารย์ประหยัด  พงศ์ดำ  ชื่อภาพ"ครอบครัว")

(ผลงานจากศิลปินประเทศญี่ปุ่น  ชื่อผลงาน  "นักเเสดง" อุตะกะวะ  คุนิโยะชิ)

บทที่1 ที่มาของภาพพิมพ์

บทที่1

ที่มาของภาพพิมพ์
           จุดประสงค์
1.รู้จักความเป็นมาของภาพพิมพ์
2.ลักษณะของภาพพิมพ์
3.วิธีการทำภาพพิมพ์

               ความเป็นมาของภาพพิมพ์
     ภาพพิมพ์มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (200,000 ปีก่อน คริสตกาล) โดยมนุษย์โครมันยอง ดังพบภาพพิมพ์รูปมือบนผนังถ้ำในถ้ำลาสโควซ์ ประเทศฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิรา ประเทศสเปน ต่อมาชาวอียิปต์และชาวเมโสโปเตเมียรู้จักการพิมพ์ภาพแบบใช้แรงกดประทับบนผิววัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ดิน ขี้ผึ้ง จากนั้นมนุษย์คิดค้นกระดาษขึ้นได้จึงเปลี่ยนวัสดุรองรับที่เป็นดินหรือขี้ผึ้งมาเป็นกระดาษแทน นับแต่นั้นมาภาพพิมพ์ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านรูปแบบ กลวิธีการพิมพ์ตามวิวัฒนาการของมนุษย์และความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบัน
(ผลงานภาพพิมพ์ของอาจารย์ประหยัด   พงศ์ดำ
ศิลปินแห่งชาติ)

     สำหรับภาพพิมพ์ในประเทศไทยนั้น ระยะเริ่มแรกทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเชิงพาณิชย์ศิลป์ โดยพิมพ์เป็นภาพประกอบหนังสือและหนังสือเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นงานภาพพิมพ์ระยะต่อมาในระบบการศึกษา โดยมีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนทางด้านภาพพิมพ์เป็นแห่งแรก และก็มีสถาบันอื่นๆ เปิดตามมา จนกระทั่งปัจจุบันภาพพิมพ์ของศิลปินไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ